หลักสูตร และ แนวทางปฏิบัติ
การปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน ๔ เป็นการปฏิบัติตามหลักธรรมที่อยู่ใน
มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี ๔ ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม
คำว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป ุปสัคค์ + ฐา าตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็น เจตสิกประเภทหนึ่ง ส่วนปัฏฐาน แปลได้หลายอย่าง แต่ใน มหาสติปัฏฐานสูตร และ สติปัฏฐานสูตร หมายถึง ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น
โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
๔. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
หลักสูตร ๓,๕,๗ วัน , ๓ เดือน ,๗ เดือน
ดำเนินการสอนโดย:
พระวิปัสสนาจารย์ประจำศูนย์ฯ
แนวทางการสอน:
เป็นการสอนที่เน้นการปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานสี่ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเห็น สภาวะธรรมทั้งปวง ที่เกิดขึ้น และดับไปตามเหตุปัจจัย โดยมีเป้าหมายให้บุคคลเข้าใจสภาวะแห่งความเป็นไตรลักษณ์ของกายและใจ
เทคนิคการสอน:
ใช้การเดินจงกรม นั่งสมาธิ กำหนดอิริยาบถใหญ่ และย่อย โดยใช้คำบริกรรมภาวนา พอง ยุบ และหนอ เน้นการเคลื่อนไหวที่ช้า ๆ เพื่อให้สติมีการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาของการปฏิบัติ นอกจากนั้นการแสดงธรรมจะมีการบรรยายธรรม โดยพระวิปัสสนาจารย์
อีก ๑ รูป ผลัดเปลี่ยนมาในหัวข้อต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจ และสร้างศรัทธาในการปฏิบัติธรรม ในช่วงการปฏิบัติธรรม จะมีการสอบอารมณ์
โดยพระวิปัสสนาจารย์ เพื่อสำรวจความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมของผู้ปฏิบัติทุกคน ๆ ละ ๒ รอบ
ระยะเวลาของหลักสูตร:
หลักสูตร ๓,๕,๗ วัน , ๓ เดือน , ๗ เดือน
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม:
ประมาณ ……. คน
การรักษาศีล:
ศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ตลอดหลักสูตร
สำหรับบุคคลทั่วไป ไม่คิดค่าใช้ จ่ายครับ
ติดต่อ พระครูสังฆบริบาล โทร. ๐๘๑-๓๖๒-๕๒๗๑